วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ลมหนาวมากับนักวิ่ง

เรื่องน่ารู้สำหรับนักวิ่ง หน้าหนาว ถึง หนาวมาก
ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ (Hypothermia) หรือ สภาวะที่อุณหภูมิภายในร่างกายลดต่ำลงจนอันตรายในสถานที่ที่เย็น ชื่น เปียก มีลมหนาว ภาวะนี้จะทให้การทำงานของระบบหัวใจ หลอดเลือด ระบบประสาทและอวัยวะต่างๆ จะลดประสิทธิภาพลง นักวิ่งบางคนบอกว่าขาแข็งวิ่งไม่ออก
ในกรณีที่แย่สุดๆอาจจะทำให้ระบบการทำงานของหัวใจ+ระบบหายใจไหลเวียนหยุดทำงานจนเสียชีวิตได้

อาการ Hypothermia
1. พูดไม่คล่อง พูดได้เป็นคำๆ
2. อาการหนาวสั่นหนักมาก ปากสั่น
3. มึนหัวและคลื่นไส้ วิงเวียน
4. หายใจแรงกว่าปกติ
5. อัตราการเต้นหัวใจเพิ่มขึ้นผิดปกติ (HR Zone สูงผิดปกติ)
6. เหนื่อยกว่าปกติ อ่อนแรงกว่าปกติ
7. สับสันหรือเบลอ
(กรณีเกิดอาการมากกว่า 2 ข้อ ให้รีบทำให้ร่างกายอุ่นขึ้น และหากไม่ดีขึ้นควรรีบปรึกษาแพทย์)

ยังมีอาการที่เกิดอย่างอื่นได้อีกถ้าอากาศเย็นระดับติดลบ เช่น อาการผิวหนังถูกทำลายจากความเย็น (Frostbite) ปอดชื้น หลอดลมหรือลำคออักเสบ
นักวิ่งแต่ละคนจะได้รับผลเสียจากการวิ่งที่อากาศเย็นจัด แตกต่างกัน
ทางป้องกันหลักๆ คือทำให้ร่างกายอุ่นขึ้นโดยการสวมเสื้อผ้าแขนยาว และ หลายชั้น แต่ผ้าต้องไม่หนาจนซับเหงื่ออับชื่นและระบายเหงื่อได้ยาก
สวมหมวกไหมพรม เสริมพวก ผ้าพันคอ หรือ ปกป้องพวกฝนหน้า มือ เท้า ให้อุ่น
ส่วนรองเท้าให้เน้นพื้นที่กันลื่น เพราะ อากาศเย็นจะทำให้พื้นวิ่งลื่นเกิดอันตรายได้ง่าย
เน้นการหายใจทางจมูกจะลดการอักเสบลำคอ

วิธีป้องกัน และ ควรเตรียม
1. สวมหมวกเพราะส่วนใหญ่ร่างกายจะสูญเสียความร้อนกว่า 50% ทางศีรษะ
2. สวมเสื้อที่ทำจากวัสดุพิเศษซึ่งช่วยระบายอากาศดีและให้ความอบอุ่นกับร่างกายได้อย่างดี เลี่ยงผ้าที่ซับน้ำได้เยอะ พวกคอตตอนเพราะจะทำให้เปียกชื้นวิ่งลำบากกว่าเดิม
3. ใส่เสื้อผ้าบางๆ หลายๆ ชั้นดีกว่าการใช้เสื้อหนาๆ เพียงชั้นเดียว เน้นแขนยาว และ กางเกงขายาว
ทั้งนี้การใส่หลายชั้น ขึ้นกับระดับความหนาวเช่น ถ้าต่ำกว่า 10องศาต้องระวังเยอะหน่อย
4. กรณีที่หนาวมากๆ สวมถุงเท้า ถุงมือ ผ้าพันคอ สวมที่ปิดหู
5. สวแว่นกันแดด ลดปัญหาแสงสะท้อน (พวกประเทศที่มีหิมะ แสงจะสะท้อนหิมะ)
6. เน้นการหายใจทางจมูก ไม่หายใจทางปาก
7. ใส่รองเท้าที่พื้นยึกแกะดี กันลื่นจากความชื่นที่เปียกพื้นวิ่ง
8. วิ่งเสร็จให้รีบทำให้ร่างกายอบอุ่น โดยการห่มผ้า สวมเสื้อผ้าให้อบอุ่นขึ้น
    อย่าสวมใส่เสื้อเปียกแล้วยืนตากแดด จะทำให้ร่างกายเสียอุณหภูมิมาก (***ต้องระวัง)
9. Warmup ก่อนออกวิ่ง และ ค่อยๆวิ่งเพิ่มความเร็ว (อาจเดินก่อนวอร์มอัพ เพื่อช่วยปรับอุณหภูมิก่อน)
10. หมั่นจิบน้ำทุกๆ 15นาที หรือทุกๆ 2.5KM ถึงแม้เหงื่อจะไม่ออก แต่ร่างกายสูญเสียความร้อน

แต่อย่างไรก็ตามการวิ่งฤดูหนาวก็มีข้อดีที่ทำให้นักวิ่งไม่ค่อยเหนื่อย ทำเวลาการวิ่งได้ ทำให้เป็นช่วงทดลองปรับเปลี่ยนรูปแบบการวิ่งได้ไม่ว่าจะวิ่งเร็วกว่าเดิม วิ่งยาวกว่าเดิม หรือ
นักวิ่งตอนเย็นจะมืดเร็วและวิ่งอันตราย อาจเปลี่ยนมาวิ่งเช้าซึ่งยิ่งสายก็จะยิ่งอุ่น (แต่ไม่แนะนำให้ตากแดดมาก อาจจะไม่ร้อนแต่ผิวไหม้ได้ ถ้ามีการโดนแสงแดดให้ทาครีมกันแดดดักไว้เลย หนาวแต่ทาครีมกันแดด ไม่มีครีมกันหนาวเนอะ)

การวิ่งอากาศเย็นร่างกายจะทำงานหนักกว่าปกติเพราะต้องปรับอุณหภูมิ จากการหายใจเข้าสู่ปอด จะปรับอุณหภูมิให้เหมาะกับร่างกายก่อนเสมอ
ทำให้การเผาพลาญพลังงานทำได้ดี โอกาสทองในการลดน้ำหนักก็จะเหมาะ แต่ทั้งนี้ก็ต้องคำนึงถึงความหนักเบาว่าไม่หนักจนเกินไปด้วย

สำคัญก็ต้องคอยสังเกตร่างกายทั้งก่อนวิ่ง ขณะวิ่ง และ หลังวิ่งเสร็จ ร่างกายจะสูญเสียอุณหภูมิมาก บางงานวิ่งใหญ่ๆ จะมีการเตรียมพวกฟลอยเก็บความร้อน ผ้าห่ม แจกให้นักวิ่ง เพราะต้องการให้นักวิ่งปลอดภัยเรื่อง Hypothermia ที่บอกไว้

@likerunner

วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2563

นักวิ่งแข็งแรงติดเชื้อไวรัสได้ไหม?

มีข้อสงสัยกันว่าทำไมนักกีฬาที่แข็งแรงจึงติดเชื้อไวรัสแล้วบางรายเสียชีวิต
บางก็เคยผ่านการแข่งขันที่แสนจะทรหด วันนี้ก็เลยอยากมาแชร์เรื่อง
มีความแข็งแรงกับภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอนั้นเป็นยังไง?
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทำให้ร่างกายแข็งแรงอันนี้เป็นเรื่องจริง
แต่การออกกำลังกายเป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของการมีภูมิคุ้มกันต่อโรคที่ดี
แต่ต้องปฏิบัติให้ถูกหลักด้วย เช่น ออกกำลังกายหนักเกิน เยอะเกิน นานเกิน บ่อยเกิน
กลับทำให้ภูมิคุ้มกันลดลงได้ เป็นต้น

การติดเชื้อไวรัส นักกีฬาจะแข็งแรงแค่ไหน ถ้ารับเชื้อมาแล้วยังไงก็ติดเชื้อได้
ส่วนอาการจะมากน้อยก็จะอยู่ที่ภูมิคุ้มกันของร่างกาย ณ ขณะนั้นว่าอ่อนแออยู่หรือเปล่า
ถ้าภูมิคุ้มกันตก(อ่อนแอ)อาการก็อาจจะหนักได้
ไม่ว่าจะแข็งแรงกล้ามโตแค่ไหน ก็นอนซมเพราะไข้ได้ครับ

ดังนั้นภูมิคุ้มกันสามารถสร้างไปพร้อมๆกับความแข็งแรงได้ เพียงเข้าใจและทำเรื่องต่างๆให้พอดี
1. ภูมิคุ้มกันตัวแรกมาจาก กรรมพันธุ์ เป็นปัจจัยที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ใครมีมาน้อยอ่านข้อต่อไปเพิ่มได้
2. ทานอาหารที่มีประโยชน์ ทานให้ครบ5หมู่ ทานผักผลไม้ให้มาก
    ควรเสริมด้วยอาหารที่ช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันโดยมากจะอยู่ในผักผลไม้ที่มี
    เบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี วิตามินบี อาทิ ผักใบเขียวจัดหรือสีเหลืองส้ม
    เห็ดต่าง ๆ และแร่ธาตุซิลีเนียม หรือสังกะสี ที่พบในเนื้อสัตว์ อาหารทะเล นม
    หรือถั่ว เป็นต้น หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันเลวมากๆ
    ทานโปรตีนให้มากๆ โปรตีนมีกรดอะมิโนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับภูมิคุ้มกันในการต่อต้าน
    เชื้อโรคต่างๆ มีงานวิจัยว่าให้ทาน โยเกิร์ต นมเปรี้ยว จะดีต่อลำไส้
3. ทานน้ำสะอาด (ไม่เย็น) ให้เพียงพอทุกวัน ตั้งแต่ตื่นนอน ควรดื่มน้ำให้ได้ 2-3ลิตรต่อวัน
    น้ำเป็นปัจจัยสำคัญต่อกระบวนการทำงานภายในร่างกาย อย่าปล่อยให้รู้สึกกระหายน้ำ
4. พักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้พอ นอนให้หลับสนิทเต็มอิ่ม  อย่างน้อยวันละ 6 - 8 ชั่วโมง
5. ออกกำลังกาย ช่วยกระตุ้นให้ระบบการไหลเวียนเลือดดีขึ้น แล้วทำให้เม็ดเลือดขาว
    ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ แข็งแรงเพื่อจัดการกับเชื้อโรคได้ง่าย
    อีกทั้งร่างกายจะหลั่งสารเอนดอร์ฟินออกมาหลังการออกกำลังกายเพื่อช่วยทำให้เรา
    รู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียด และความวิตกกังวล
    เราควรออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อย 30 นาที 3-4 วันต่อสัปดาห์
    จะช่วยให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมน DHEA
    (สารตั้งต้นของฮอร์โมนเพศหญิงและชายที่ทำหน้าที่ช่วยต้านความเครียดและ
    กระตุ้นภูมิต้านทาน) ออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
    ระหว่างวันควร เคลื่อนไหวตัวอยู่เรื่อยๆ เช่นนั่งทำงานก็ต้องลุกมายืดเหยียดบ้างเป็นต้น
    ควรโดนแสงแดดยามเช้า หรือ ยามเย็นบ้างเพื่อเพิ่มวิตามินดีให้กับร่างกาย
    วิตามินดี ทำให้ทำงานของกล้ามเนื้อ  หัวใจ ปอด และสมองดีขึ้น
6. ลดความเครียด หาเรื่องสนุกๆ ขำๆ บันเทิงทำสม่ำเสมอ หัวเราะบ่อยๆ อย่าให้ร่างกายสะสมความเครียด
    เพราะความเครียดเป็นตัวร้ายที่ทำให้สิ่งอื่นที่เราทำได้ผลที่ดีน้อยลงมาก
7. ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง ฝึกผ่อนคลายจิตใจตนเองได้ด้วยการกำหนดลมหายใจหรือนั่งสมาธิ
    การนั่งสมาธิสามารถช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมน DHEA
    ซึ่งนอกเหนือจากมีหน้าที่สำคัญช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันแล้วยังมีบทบาทในการต้าน
    โรคมะเร็งอีกด้วย
8. เล่นดนตรีการร้องเพลงช่วยให้เราอารมณ์ดีขึ้น และยังช่วยเพิ่มระดับแอนติบอดี
    ที่ช่วยปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคต่างๆ
9. อย่าให้น้ำหนักตัวมากเกินไป ให้คำนวณตามค่าดัชนีมวลกาย (BMI)
    เพราะไขมันจากความอ้วนจะทำให้การทำงานของปอดทำงานได้ลดลง


ช่วงนี้ก็ขอให้เพื่อนๆนักวิ่งมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง มาสร้างภูมิคุ้มกันด้วยกันจะได้สู้กับไวรัสได้

@likerunner

การจัดการพลังงานในการวิ่ง

การจัดการพลังงานในการวิ่ง  วิ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงาน แคลอรี่ปริมาณมากน้อย ก็ขึ้นกับระยะทางที่วิ่ง และ ความเร็วที่วิ่ง และยังมีปัจจัยเ...