วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2564

การซ้อมวิ่ง กับ การแข่งขันวิ่ง เหมือนกันไหม?


 การซ้อมวิ่ง กับ การแข่งขันวิ่ง เหมือนกันไหม? 

นักวิ่งหลายคนใช้การแข่งขันวิ่ง เป็นการซ้อมวิ่ง เนื่องจากอยากพิชิตเป้าหมายระยะทางนั้นๆ แต่ไม่มีเวลาซ้อม หรือ ซ้อมไม่ทัน ก็มาลงแข่งวิ่งวันแข่งขันเลย

นักวิ่งหลายคนลงแข่งขั้นในระยะที่สั้นกว่าเป้าหมาย เพื่อทดสอบและซ้อมการวิ่งในระยะที่ไกล แทนการซ้อม Long run

ไม่ได้เป็นข้อผิดพลาดหรือข้อห้ามใดๆ 
เลยอยากแชร์ถึงในรายละเอียดของคำว่า ซ้อมวิ่ง กับ การแข่งขันวิ่ง ให้เพื่อนๆสมาชิก

เริ่มเลย...

การแข่งขันเป็นส่วนหนึ่งของการซ้อม จะอยู่ในช่วงเวลา ที่เรียกว่า Competive Phase เป็นช่วงหลังจากผ่านการซ้อมด้านความแข็งแรงอดทน ผ่านการซ้อมความเร็ว และ ผ่านการซ้อมความแข็งแรงเฉพาะประเภท ตามระยะทางที่เหมาะสมกับการแข่งขัน



การฝึกซ้อมจะเพิ่มค่าความอดทนและความแข็งแรงให้กับร่างกาย ขยายฐานให้กับนักวิ่ง เช่น เพิ่ม Maximum Arobic Capacity ทำให้ร่างกายสามารถทนกับภาวะกรดแลกติกท่วม หัวใจวิ่งไปโซนสูง (แอนแอโรบิก) ช้าลง มีผลให้ความเร็ว และ ระยะทางการวิ่งดียิ่งขึ่น

การซ้อมมีการปรับเพิ่มในส่วนที่ขาด โดยใช้การปรับ
1.Intensity ความเร็ว
2.Volumn ปริมาณระยะทาง เวลา จำนวนเที่ยว
3. Recovery ช่วงพักระหว่างการฝึก

การฝึกซ้อมจะทำให้นักวิ่งค้นพบเพซที่เหมาะสม (Vcr) ของตนเอง

Vcr คือความเร็วสูงสุดในการวิ่งทางไกล ด้วยระบบแอโรบิก (ถ้าเทียบก็ประมาณเกือบๆโซน4)
เป็นความเร็วที่นักวิ่งใช้ซ้อมเยอะที่สุด และยังเป็นความเร็วที่ใกล้เคียงกับวันแข่งขันด้วย
วิธ๊ง่ายๆถ้าอยากทดลองวิ่งก็ลองวิ่งสัก 30นาที ให้รู้สึกเหนื่อยแต่ไม่เหนื่อยมากจนขนาดพูดไม่ได้
Vcr สามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้ในช่วงระยะการซ้อม 1เดือน 3เดือน 6เดือน ได้

ถ้าพูดถึงความเร็ววันแข่งขัน
นักวิ่งจะใช้ความเร็วที่เฉลี่ย เร็วกว่า Vcr คือโซนหัวใจจะวิ่งสลับระหว่าง แอโรบิก กับ แอนแอโรบิก
เนื่องจากแอนแอโรบิก จะทำความเร็วแบบต่อเนื่องได้ไม่นาน เพราะเป็นการใช้พลังงานแบบไม่ใช้ออกซิเจน ใช้กล้ามเนื้อมสร้างพลังงาน จะเกิดการสะสมแลกติก และถ้าการขจัดแลกติกไม่ทันก็จะทำให้การทำงานหัวใจหนักมากจนอาจเกิดอาการทางกายเช่น ตระคริวขึ้น ชนกำแพง เป็นต้น

การซ้อมวิ่งประเภท Extensive Interval จะช่วยให้การจัดการ กรดแลกติกทำได้ดี และ ทำให้การวิ่งราบรื่น เกลี่ยพลังงานได้พอดี แทบมองไม่ออกว่าช่วงไหนแรงตก การซ้อมที่ดีและเหมาะสมกับระยะที่แข่ง จะทำให้การวิ่งวันแข่งวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุดที่สม่ำเสมอ ไม่ตกปลาย ส่วนใหญ่วันแข่งขันจะนักวิ่งที่พร้อมจะวิ่งช่วงครึ่งหลังได้เร็วกว่าครึ่งแรก (เรียกว่า นิเสธ) ได้ด้วยซ้ำ

นักวิ่งที่ผ่านสนามแข่งขันบ่อยๆจะสามารถปรับลด เกลี่ยพลังงานให้เหมาะสมกับระยะแข่งขันยิ่งๆขึ้น ไม่ตื่นเต้นออกตัวแรงจนหัวใจไปโซนสูง ส่วนชัยชนะนอกจากจะมาจากการจัดสรร วางแผนที่ดีก่อนซ้อม ยังจำเป็นจะต้องมีไม้ตาย ที่นักวิ่งคนอื่นไม่มีคือ ความเร็วอดทน เป็นสิ่งที่นักวิ่งระยะไกลมองข้าม ง่ายๆคือการเข้าเส้นชัย ช่วงท้ายของการวิ่ง นักวิ่งต้องซ้อมความเร็วอดทน เช่น วิ่งเร็วๆ100เมตร แบบพักและวิ่งสลับไปมา จะสามารถเร่งspeed ในช่วงท้ายได้เหมือนมีพลังงานแฝงระเบิดตอนท้าย
บ้างคนเรียกวาเปิดปุ่ม "ไนตรัส" มาจากวงการแข่งรถ มีไนตรัสออกไซด์ ระเบิดพลังแซงเพื่อนเข้าเส้นชัย

การวิ่งวันแข่งขัน จึงเป็นเหมือนการทดสอบ สิ่งที่ซ้อมมาในระยะเวลาหนึ่งแต่เป้าหมายของการแข่งนั้นจะอีกเรื่อง บางคนต้องการถ้วย เงินรางวัล ทำลายสถิติ หรือ ทำลาย NewPB หรือ พิชิตใจตนเอง หรือต้องการกิจกรรมสนุก ต้องการภาพถ่ายสวยๆ ก็สุดแล้วแต่ก่อนจะถึงวันแข่งขัน นักวิ่งจะต้องวางแผนการวิ่ง ศึกษาเส้นทาง ดูสถิติ เตรียมร่างกายพักผ่อนให้พร้อม โดยเฉพาะวันก่อนแข่งขัน 3-5วัน ควรลดความหนักการซ้อมและเข้าสู่ช่วงเวลาการ Tapper และ ทำการโหลดพลังงานคาร์โบไฮเดรทชุดใหม่ และ พักผ่อนให้พอ 

วันแข่งขัน นักวิ่งจะได้รับการดูแลและsupportจากทีมงาน โค้ช และ ผู้จัดงาน ในหลายๆด้าน ทั้งบริการในเส้นทางการวิ่ง ความปลอดภัยในการวิ่ง แถมมีกองเชียร์ และความสนุกที่มีเพื่อนร่วมเส้นทางวิ่งที่เยอะมากๆ

จะได้ประสบการณ?แปลกใหม่หลายๆด้าน ทำให้นีกวิ่งหน้าใหม่หลายคนจะตื่นเต้น มีแรงและกำลังใจมากกว่าปกติ ทำให้ส่วนใหญ่ถ้าไม่ตื่นเต้นจนเกินไป จะได้ค้นพบพลังความสามารถที่ดีกว่าตอนซ้อม หลายคนพบกับสถิติใหม่ NewPB ในหลายระยะและทำให้มั่นใจในการแข่งขันในครั่งถัดๆไป อีกทั่งยังได้เห็นเพื่อนนักวิ่งที่วิ่งได้ดีๆระดัยเทพๆ เป็นไอดอล เพื่อมีพลังกลับไปซ้อมต่อได้ดีเลย
มีเรื่องราวมากมายในวันแข่งขัน มีเหรียญรางวัลแจก มีอาหาร เครื่องดื่มบริการ มีรอยยิ้มของนักวิ่ง
นักวิ่งหลายจึงหลงไหล งานแข่งขัน และ สนุกทุกครั้งแม้จะไม่ได้ชนะเลิศก็ตาม

ยิ่งคนโสดถ้าจะหาแฟนในงานวิ่งไม่ใช่เรื่องยากเลย ส่วนคนที่มีคู่ก็สนุกกันจูงมือวิ่งกันหวานเจี๊ยบ

การแข่งขันในงานวิ่ง ไม่ใช่สิ่งสุดท้ายของการซ้อม สิ่งที่ต้องทำหลังงานแข่งขันคือการกลับไปพัก สำรวจร่างกาย ประเมินข้อผิดพลาด และเตรียมตัวให้พร้อมในการซ่อมรอบถัดไป โดยมากจะแนะนำให้พัก หยุดวิ่งไปเลย เปลี่ยนกิจกรรมไปว่ายน้ำ ปันจักรยาน หรือ เดินชมวิวไปสัก 1-2สัปดาห์ ก่อนจะกลับมาเข้าตารางซ้อมใหม่

ถ้านักวิ่งซ้อมให้เหมาะกับระยะที่ลงแข่งขัน จะทำให้การวิ่งวันแข่งสนุกขึ้น มั่นใจขึ้น และยังเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดี สมัครลงแข่งขันงานวิ่งระยะที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายก็เป็นเรื่องแรกที่ควรให้ความสำคัญ แต่ชีวิตจริง นักวิ่งจะโดนป้ายยาจากเพื่อนนักวิ่งด้วยกันให้ไปวิ่งระยะทางที่ท้าทายมากขึ้น
แต่ถ้าโดนป้ายยามาแล้ว ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะ ส่วนใหญ่งานวิ่งจะรับสมัครก่อนวันแข่งค่อนข้างเยอะ เพื่อช่วยนักกีฬาให้มีเวลาซ้อม ดังนั้นซ้อม ซ้อม ซ้อม คือทางออกของการโดนป้ายยา
อาจจะพบกับความสามารถที่ซ้อนเล้นของเราก็ได้

การซ้อมและลงแข่งบ่อยๆจะทำให้เวลาชมการแข่งขันวิ่งงานใหญ่ จะสนุกและตื่นเต้นมากขึ้น เพราะ นักวิ่งจะเข้าใจความรู้สึก รับรู้ถึงความสามารถ ชื่นชมความสำเร็จของนักวิ่งได้มากกว่า การชมจะสนุกน่าติดตาม และ จะค้นพบคำตอบบางเรื่องได้ด้วยตนเอง อาจจะค้นพบความสามารถที่ไร้ขีดจำกัด และนำไปพัฒนาการวิ่งในรูปแบบเฉพาะจองตนเองได้

@likerunner



การจัดการพลังงานในการวิ่ง

การจัดการพลังงานในการวิ่ง  วิ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงาน แคลอรี่ปริมาณมากน้อย ก็ขึ้นกับระยะทางที่วิ่ง และ ความเร็วที่วิ่ง และยังมีปัจจัยเ...